gps รถขนส่ง

ติด gps รถขนส่ง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวท่านเอง

gps รถขนส่ง

gps รถขนส่ง ต้องติดตั้ง GPS เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของระบบขนส่งอย่างยั่งยืน กรมการขนส่งทางบกได้จัดทำโครงการ “มั่นใจทั่วไทย รถใช้ GPS” ติดตามและควบคุมพฤติกรรมการบริหารของผู้ประกอบการ และพฤติกรรมการขับขี่ของพนักงานขับรถ ด้วยเทคโนโลยี GPS โดยเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถ ของกรมการขนส่งทางบกแบบ Real-Time ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2559 เป็นต้นไป

กลุ่มเป้าหมาย
1. รถโดยสารสาธารณะและรถตู้ ทุกประเภททุกคัน
2. รถบรรทุกขนาดใหญ่ทุกคัน รถลากจูง รวมถึงรถบรรทุกวัตถุอันตราย

วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย
2. สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน รวมถึงผู้ใช้บริการรถสาธารณะ

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ประชาชนได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพและปลอดภัย
2. ผู้ประกอบการบริหารจัดการ ด้วยการควบคุมและติดตาม
3. กรมการขนส่งทางบกบริหารจัดการระบบขนส่งสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน

รถหาย ถูกขโมย ต้องทำอย่างไร

การถูกโจรกรรม ไม่ว่าเป็นรถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่หลายคนคิด ปัจจุบันมีการขโมยหลากหลายรูปแบบ ถึงแม้จะมี รปภ. คอยสอดส่องก็ตาม เหตุการณ์นี้ก็สามารถเกิดขึ้นกับคุณได้ ทางที่ดี เราควรรู้วิธีแก้ไขล่วงหน้า เพื่อรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นเอาไว้ก่อน เราจะได้รีบดำเนินการ และตามรถเจอได้ทันถ่วงที

สิ่งแรกที่สำคัญ คือ การตั้งสติ

หากคุณกลับมายังจุดจอดรถ แล้วไม่เจอรถของคุณ อย่างแรกที่สำคัญมากๆ คือ การตั้งสติให้มั่น ลองนึกให้ดีว่า เราจอดรถไว้ยังจุดไหน เราอาจจำผิดก็ได้ อาจเป็นญาติ หรือคนในครอบครัวอาจขับรถออกไป ถ้ามั่นใจแล้วว่ารถหายแน่ๆ ให้พยายามนึกถึงรายละเอียดของรถ รวมถึงทรัพย์สินที่อาจอยู่ภายในรถ เวลาที่นำรถมาจอด เพื่อเตรียมข้อมูลไว้แจ้งกับทางเจ้าหน้าที่

รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

  • โทรแจ้ง สายด่วนรถหาย 1192 ทันที จะมีเจ้าหน้าที่รับเรื่อง สอบถามรายละเอียดเบื้องต้น เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชนของเจ้าของรถ เลขทะเบียน ยี่ห้อ รุ่นรถ และสถานที่เกิดเหตุ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในท้องที่ได้เร่งออกตามหา และสกัดจับได้ทันถ่วงที ควรจะต้องแจ้งทันทีเพราะยิ่งแจ้งความช้า ก็ยิ่งตามหารถได้ยาก
  • แจ้งความกับสถานีตำรวจที่อยู่ในพื้นที่ พร้อมระบุรายละเอียดต่างๆให้ครบถ้วน เพื่อลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐานว่ารถของเราได้หายจริงๆ
  • โทรแจ้งกระจายข่าวเพิ่ม ให้เจ้าหน้าที่ หรือผู้ใช้รถทั่วไป ได้รับทราบถึงรูปพรรณสันฐาน ลักษณะรถที่หายเพิ่มเติม เพื่อที่จะช่วยนำมาเป็นเบาะแสในการตามหารถของคุณได้ด้วย เช่น
    – ส.ว.พ91 1644
    – จ.ส. 100  1137, 02-711-9451-8
    – ตำรวจทางหลวง 1193
    – ร่วมด้วยช่วยกัน 1677,1678

แจ้งบริษัทประกันภัยรถยนต์ของคุณ
เมื่อทำการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียบร้อยแล้ว ต่อมาคือ โทรแจ้งกับบริษัทประกันรถของคุณ แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับรถหาย ทางบริษัทประกันจะดำเนินการตรวจสอบ ไปจนถึงการติดตามรถที่สูญหายเบื้องต้น เมื่อพิสูจน์ได้ว่ารถยนต์ที่สูญหายไปไม่สามารถนำกลับคืนมาได้ ทางบริษัทประกันจะดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

หาพยานหลักฐานที่อยู่รอบๆ

หากบริเวณรอบๆ ที่รถหาย มีคนหรือกล้องวงจรปิดอยู่ ให้สอบถามคนที่อยู่แถวนั้นเพิ่มเติม และติดต่อเจ้าของกล้องวงจรปิดเพื่อขอภาพในกล้อง และตรวจสอบดูว่ารถหายไปเมื่อใด และคนที่มาขับออกไปนั้นมีรูปพรรณสัณฐานอย่างไร เพื่อใช้ประกอบการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ประกาศลงโซเชียลมีเดียเพิ่มเติม

ต้องยอมรับว่า สื่อโซเชียลในปัจจุบัน เป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพมาก ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ผ่านแท็ก #รถหาย และเมนชั่นหา จส.100 หรือจะเป็นช่องทางไลน์เองก็ตาม ให้ช่วยกระจายข่าว จะทำให้มีโอกาสเจอรถได้เร็วมากขึ้น แต่ก็ต้องตรวจสอบให้ดีว่า เพจหรือกลุ่มนั้นๆเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน

แจ้งบริษัทไฟแนนซ์

หากรถยังผ่อนไม่หมด แนะนำให้โทรแจ้งกับบริษัทไฟแนนซ์ เพื่อให้ไฟแนนซ์ติดต่อกับบริษัทประกัน เพื่อทำเรื่องเคลมและคำนวณว่า เงินชดเชยที่จะได้รับ เท่ากับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้กับไฟแนนซ์ต่อหรือไม่ หากเท่ากันก็ไม่ต้องจ่ายอะไรอีก หากน้อยกว่า อาจจะต้องจ่ายต่อไปจนครบตามสัญญา แต่ถ้าหากคุณไม่แจ้งไฟแนนซ์ว่ารถหาย เมื่อไฟแนนซ์ขอตรวจสอบรถแล้วไม่พบ คุณอาจถูกไฟแนนซ์แจ้งความในข้อหายักยอกทรัพย์ได้

วิธีป้องกันรถหายเบื้องต้น ทำได้เองง่ายๆ

  • จอดรถในที่มีแสงไฟส่องถึง สามารถมองเห็นได้ง่าย และมีคนดูแล หรือมีคนพลุกพล่าน
  • ดับรถและล็อครถทุกครั้งที่ลงจากรถเพื่อไปทำธุระ ไม่ว่าจะนานหรือไม่ก็ตาม
  • ตรวจเช็คทุกครั้งหลังลงจากรถว่า ล็อครถเรียบร้อยแล้ว
  • ใช้อุปกรณ์ล็อคเพิ่ม เช่น ล็อคเกียร์ ล็อคล้อ ล็อคเบรค,คลัทช์ และพวงมาลัย อย่างน้อยก็ช่วยถ่วงเวลาไว้ได้ ทำให้โจรขโมยได้ยากขึ้น
  • ไม่ควรทิ้งของมีค่าไว้ในรถ
  • รถยนต์บางค่าย จะมีบริการติดตั้งกล่องกับตัวรถ gps รถสิบล้อ ที่สามารถติดตามรถได้จากสัญญาน GPS ผ่าน application
  • ทำประกันเอาไว้ ซึ่งประกันที่ครอบคลุมในกรณีรถหาย คือ ประกันชั้น 1, ชั้น 2 และ 2+ โดยเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วจะได้รับเงินชดเชยคืน ตามจำนวนทุนประกันที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์

มาตรฐานความปลอดภัยใหม่ด้วยระบบ GPS

ปัจจุบันกรมการขนส่งเองได้มีการยกระดับมาตรฐานเพื่อต้องการสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน ซึ่งการสร้างความปลอดภัยดังกล่าวนี้ได้มีการนำเอา GPS เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน

รวมไปถึงผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะก็ต้องได้รับความปลอดภัยจากสิ่งนี้เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้กรมการขนส่งจึงได้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขการกระทำผิด กฎหมาย GPS แล้วระบุมาตราโทษให้เหมาะสม ซึ่งมีข้อน่าสนใจดังนี้

หากมีการขับรถด้วยอัตราความเร็วเกินกำหนดต่อเนื่องยาวนานกว่า 2 นาที จะถือว่ารถคันนั้นมีความผิดตามมาตรา 111 พรบ. กรมขนส่งทางบก พร้อมด้วยมาตรา 67 พรบ. จราจรทางบกฯ โดยมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท รถที่ต้องเข้าข่ายประกอบไปด้วย รถบรรทุก กำหนดความเร็วที่ 80 กม. / ชม. รถลากจูง กำหนดความเร็วที่ 60 กม. / ชม. และรถโดยสารปะจำทาง กำหนดความเร็วที่ 80 กม. / ชม.

หากมีการขับรถเกินระยะเวลากำหนดในรอบ 24 ชม. โดยการกำหนดขับดังกล่าวนั้นต้องขับได้ติดต่อกันไม่เกินครั้ง 4 ชม. มีการหยุดพักขั้นต่ำ 30 นาที แล้วจึงสามารถขับรถต่อไปได้อีก 4 ชม. หากการหยุดพักไม่ถึง 30 นาที จะไม่ถือว่าเป็นการหยุดพักและเมื่อไหร่ก็ตามที่ขับเกินจากกฎหมายกำหนดจะมีความผิดตามมาตรา 117 พรบ. กรมขนส่งทางบก โดยมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรืออาจจะมีการสั่งพักใบอนุญาตได้เกินจำนวน 180 วัน

หากมีการขับรถโดยไม่ได้แสดงตัวผู้ขับ หรือมีการใช้งานใบอนุญาตรถผิดประเภท มีการฝ่าฝืน ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย จะมีความผิดตามมาตรา 109 กรณีตัวพนักงานขับรถ หากไม่มีการแสดงตัวตน ผู้ตรวจการก็มีอำนาจในการสั่งเพื่อให้มารายงานตัว หรือบางรายอาจทำการพักใบอนุญาตไม่เกิน 180 วัน กับอีกกรณีคือผู้ได้รับใบอนุญาตในการขับรถ

แต่ได้ทำการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวระหว่างที่ยังโดนทำการยึดใบอนุญาตขับรถ หากว่ากันตามกฎหมายจราจรทางบกมีการระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับขึ้นอยู่กับเรื่องของเงื่อนไขในการกระทำผิดนั้น ๆ ในส่วนของผู้ประกอบการขนส่งหากไม่ยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขประกอบการขนส่ง มีโทษในการปรับสูงสุดถึง 50,000 บาท

กรณีมีการปลดหรือถอดตัวเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถออกไป ต้องถือว่าเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถนั้นเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของรถที่จำเป็นต้องมีและจำเป็นต้องใช้ กรณีพบว่ามีการถอดเครื่องดังกล่าวออกไปจริง ถ้าเป็นตอนตรวจสภาพรถประจำปีจะถือว่าไม่ให้ผ่านการตรวจสภาพรถ แต่ถ้าหากตรวจพบเจอระหว่างขับไปบนท้องถนนจะมีความผิดตามมาตรา 148 โดยมีโทษในการปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท

สนใจ เเอดไลน์ LINE : @GeniusGPS

กลับหน้าหลัก